ขุดถนน ขุดฟุตบาท ขุดทั้งปีทั้งชาติ
ตั้งกองทุนสาธารณูปโภคเมือง โดยให้อำนาจ กทม. เข้าซ่อมแซมการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีปัญหาได้ทันที (แม้สาธารณูปโภคนั้นไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ กทม.) เช่น • ซ่อมผิวถนนที่มีปัญหาจากการเปิดเพื่อนำสายไฟฟ้าลงดิน • ซ่อมทางเท้าที่มีปัญหาจากการเปิดเพื่อวางท่อประปาใหม่
กลับบ้านด้วยรถเมล์ โคตรเหนื่อยเลย
เพิ่มอำนาจให้ กทม. ในการกำกับดูแลระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง (รถเมล์ สองแถว แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก) เช่น กำหนดเส้นทางการเดินรถ ควบคุมคุณภาพรถ ควบคุมราคา ออกใบอนุญาต ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่
ใต้ทางด่วน รกร้าง มืด อันตราย
เพิ่มอำนาจให้ กทม. บริหารจัดการ และบำรุงรักษาทางสาธารณะรวมถึงพื้นที่โดยรอบของหน่วยงานอื่นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ที่ดินใต้ทางด่วน ที่ดินใต้รถไฟฟ้า ถนนของหน่วยงานอื่น
แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก จอดแช่ริมถนน ไม่มีคนมาไล่ รถติดมาก
เพิ่มอำนาจให้ กทม. บริหารจัดการจราจรแบบเบ็ดเสร็จ จับ ปรับ ล็อกล้อ ยกรถ เปิดปิดไฟจราจร
ขอทานเต็มเมือง
เพิ่มอำนาจให้ กทม. ดูแลขอทาน คนไร้บ้าน อย่างเบ็ดเสร็จ โดยไม่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
แก้ฝุ่น PM2.5 และปัญหามลพิษ อย่างยั่งยืนไม่ได้
เพิ่มอำนาจให้ กทม. กำกับดูแลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น การใช้พลังงานและทรัพยากร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ
เพิ่มอำนาจให้ กทม. กำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น ยานพาหนะ โรงงาน ให้เข้มงวดขึ้น และสามารถจับ-ปรับ-ห้ามใช้แหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM2.5 และปัญหามลพิษอย่างยั่งยืน
เปิดผับถูกกฎหมาย ทำไมยากจัง
เพิ่มอำนาจให้ กทม. ออกใบอนุญาตสถานบริการและโรงแรมในกรุงเทพฯ เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาของเมืองได้
ธุรกิจสีเทาเต็มเมือง ขาดการควบคุมจากรัฐ
เพิ่มอำนาจให้ กทม. ตรวจสอบและดำเนินการกับธุรกิจผิดกฎหมายในพื้นที่ได้ทันที เพื่อควบคุมและจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องรอหน่วยงานอื่น
นักท่องเที่ยวล้นเมือง แต่เก็บภาษีโรงแรม ไม่ได้
เพิ่มอำนาจให้ กทม. จัดเก็บรายได้ทั้งในรูปแบบภาษีและค่าธรรมเนียม เช่น • ภาษีบุหรี่ • ภาษีโรงแรม • ภาษีมลพิษ • ภาษีสนามบินและผู้มาเยือน • ค่าธรรมเนียมสำหรับรถยนต์เก่า • ค่าธรรมเนียมการตั้งวางสิ่งของในที่สาธารณะ
ทำธุรกิจ/งานสร้างสรรค์ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เอกชนต้องทำกันเอง
เพิ่มอำนาจให้ กทม. สามารถให้ทุนสนับสนุนเศรษฐกิจเมือง ทั้งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงทุนศึกษาวิจัย เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ทำกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจได้
ไม่อยากส่งลูกหลานมา โรงเรียนสังกัด กทม. กลัวจะไม่มีคุณภาพ
เพิ่มอำนาจให้ กทม. ออกแบบการประเมินผลการเรียน ออกแบบหลักสูตร และคัดเลือกครู ได้อย่างอิสระ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ และทันต่อสถานการณ์โลก
กรุงเทพฯ มีพื้นที่หลากหลาย ต้องการคนเข้าใจบริบทพื้นที่มาบริหาร
เพิ่มการเลือกตั้ง สก. ให้มีสัดส่วนผู้เชี่ยวชาญเชิงประเด็น เพื่อมาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเชิงพื้นที่ (สก. แบบแบ่งเขต)
แบ่งการบริหารกรุงเทพมหานครเป็น 2 ชั้น โดยเพิ่มชั้น "นคร" ซึ่งมาจากการรวมกลุ่มเขตที่มีบริบทคล้ายกัน และอิงการบริหารจากโมเดลเทศบาล เพื่อกระจายอำนาจ และงบประมาณ โดยสมาชิกสภานครมาจากการเลือกตั้งทางตรง ส่วนนายกนครมาจากการเลือกตั้งของสภานคร
โครงสร้างราชการ ทั้งฝ่ายการเมือง และฝ่ายประจำ ยังไม่ตอบโจทย์ทั้งหมดของคนกรุงเทพฯ
ปรับโครงสร้างข้าราชการการเมือง ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้มีสัดส่วนที่ปรึกษา รองผู้ว่า และผู้ช่วยทำงานให้เหมาะสมกับเนื้องาน
ปรับโครงสร้างข้าราชการประจำ ลดจำนวนตำแหน่งข้าราชการระดับบริหาร ให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น